คุณประโยชน์ของกระชายดำ


กระชายดำ  สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

สรรพคุณชั้นยอด, เพิ่มฮอร์โมน, บำรุงกำลัง 

ได้รับสมญานาม " โสมไทย "

       *** สารสำคัญในกระชายดำ ***

        สารที่พบในเหง้ากระชายดำ ได้แก่ borneol, sylvestrene  ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพ

และ สาร 5,7 - ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7 - dimethoxflavone=5,7 DMF) ซึ่งแสดง

ฤทธิ์ต้านอักเสบ นอกจากนี้รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี2547 พบสาร

พวกฟลาโวนอยด์ 9 ชนิด เช่น สาร 5,7,4'- trimethoxyflavone, 5, 7, 3', 4'-

tetramethoxyflavone  เป็นต้น

ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

       *** ฤทธิ์ต้านอักเสบ ***

        สาร 5,7 - ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7 - DMF)  ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ

มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน, อินโดเมธาซิน,

ไฮโดรคอร์ติโซน และ เพรดนิโซโลน   จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ในสัตว์

ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5, 7 - DMF  สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลัน

ได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง

        นอกจากนี้พบว่าสาร 5,7 - DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และ การสร้างสาร

prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy)

       *** ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ***

        สาร 5,7,4' - trimethoxyflavone และ 5,7,3',4' - tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์

ต้านเชื้อ plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาเลเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4'-

tetramethoxyflavone และ 5,7,4' - trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans

และ แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน

       *** ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง ***

        มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่

(aorta) และ ลดการหดเกร็งของลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และ ยับยั้งการเกาะกลุ่ม

ของเกล็ดเลือดคน

ข้อมูลที่มา : สถาบันการแพทย์แผนไทย

     

       *** สรรพคุณของกระชายดำ ***

        สมุนไพรมากคุณค่าตามตำรายาแผนโบราณ " กระชายดำ " จัดว่าเป็นสมุนไพร และ เป็นยา

อายุวัฒนะที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้บริโภค และ วงการแพทย์แผนไทย  เพราะเชื่อว่า

มีสรรพคุณทางยา ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ จากประสบการณ์ของ

ผู้ที่บริโภคกระชายดำมีรายงานว่า บำรุงกำลัง, บำรุงหัวใจ, แก้ใจสั่นหวิว, รักษาอาการมือเท้าเย็น

อาการขัดเบา, แก้ลมวิงเวียน, แน่นหน้าอก, ขยายหลอดเลือดหัวใจ, โรคเกาต์, ช่วยให้โลหิตหมุน

เวียนดีขึ้น, ผิวพรรณผุดผ่องสดใส ( แต่ต้องกินติดต่อกันนานประมาณ 20 - 30 วัน จึงจะเริ่มเห็นผล )

        ในตำรายาไทยได้กล่าวถึงการนำกระชายดำมารักษา โดยการใช้เหง้าในการแก้โรคในปาก

เช่น ปากเปื่อย, ปากเป็นแผล, ตกขาว, ขับปัสสาวะ, รักษาโรคบิด, ปวดมวนในท้อง, โรคกระเพาะ

อาหาร และ ยังพบว่าในกระชายดำมีฤทธิ์ในการรักษาเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง และ รักษาอาการ

เหน็บชา

        แต่ที่กล่าวขานกันมากถึงสรรพคุณของ " กระชายดำ " คือ เพิ่มฮอร์โมนบำรุงกำลังทางเพศ

( โดยเฉพาะท่านชาย ) ลดอาการปวดเมื่อย, เมื่อยล้า, ปวดข้อ, ปวดหลัง เนื่องจากการทำงาน

หนัก หรือ ยืน, เดินเป็นเวลานาน

ข้อมูลที่มา : กรมวิชาการเกษตร